Non-Farm Payrolls (NFP) การจ้างงานนอกภาคการเกษตร เป็นดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่สำคัญของสหรัฐฯ ที่ประกาศทุกๆ วันศุกร์แรกของแต่ละเดือน ผ่านทางการรวบรวมตัวเลขทางสถิติการจ้างงานในภาคการบริการ ก่อสร้าง อุตสาหกรรม โดยไม่นับรวมไปถึงการจ้างงานในภาคการเกษตร ในครัวเรือน และในองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยกรมสถิติแรงงานของสหรัฐฯ
Non Farm Payrolls ประกาศวันไหน ?
ตัวเลข Non Farm มีการประกาศเดือนละ 1 ครั้ง ทุกวันศุกร์แรกของแต่ละเดือน เวลา 20.30 น. ประเทศไทย หรือเวลา 19:30 ในบางเดือน ขึ้นอยู่กับการปรับเวลาออมแสง หรือ Daylight Time Saving โดยข่าวจะประกาศผ่านทางเว็บไซต์ Forexfactory.com
Nonfarm Payrolls หรือ “ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร” เป็นดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากที่สุดตัวหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ตัวเลขที่ว่านี้ นับจากจำนวนการจ้างงานในภาคการบริการ การก่อสร้าง และอุตสาหกรรม ซึ่ง “ไม่นับรวม” การจ้างงานในภาคการเกษตร ในครัวเรือน และในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
ซึ่งรู้หรือไม่ว่า การจ้างงานที่ถูกนับรวมในตัวเลข Nonfarm Payrolls มีสัดส่วนสูงถึง 80% ของ GDP สหรัฐอเมริกา
ตัวเลข Nonfarm Payrolls นั้นจะถูกประกาศทุก ๆ วันศุกร์แรกของแต่ละเดือน โดยกระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกา
โดยตัวเลขที่เห็น คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน ซึ่งหมายถึง ปริมาณการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ถ้าเป็นบวก ก็หมายถึงการจ้างงานเพิ่มขึ้น
ถ้าเป็นลบ ก็หมายถึงการจ้างงานลดลง
แล้วตัวเลข Nonfarm Payrolls ที่ประกาศออกมานั้น มีความหมายอย่างไร ?
ถ้าตัวเลข Nonfarm Payrolls เพิ่มขึ้น
หมายความว่าธุรกิจโดยทั่วไปกำลังมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
แปลว่า ภาคธุรกิจในภาพรวมของสหรัฐอเมริกากำลังขยายตัว
ขณะที่ฝั่งของแรงงานที่เพิ่งทำงานใหม่นั้น ก็จะมีเงินมาใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป
แต่ก็ต้องหมายเหตุว่า การเพิ่มขึ้นของตัวเลข Nonfarm Payrolls บางครั้งก็นำไปสู่ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อในอนาคตได้เช่นเดียวกัน
ถ้าตัวเลข Nonfarm Payrolls ลดลง
หมายความว่าธุรกิจโดยทั่วไปกำลังมีการจ้างงานลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ซึ่งแปลว่า ภาคธุรกิจในภาพรวมของสหรัฐอเมริกากำลังหดตัว
ขณะที่ฝั่งของแรงงาน เมื่อมีคนทำงานในตลาดแรงงานน้อยลง ก็จะทำให้มีเงินเพื่อมาใช้จ่ายในสินค้าและบริการลดลง ซึ่งอาจส่งผลเชิงลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต
พอเรื่องเป็นแบบนี้ จึงทำให้ตัวเลข Nonfarm Payrolls เป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นอีกดัชนีสำคัญที่จะบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจในอนาคต รวมไปถึงส่งผลต่อสินทรัพย์ทางการเงิน
กรณีของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
เมื่อตัวเลข Nonfarm Payrolls ที่ประกาศออกมาเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากำลังขยายตัว และมีแนวโน้มที่จะเติบโตในอนาคต
ซึ่งกรณีนี้ โดยทั่วไปแล้ว มักส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และตลาดหุ้นภาพรวมปรับตัวดีขึ้น
ในทางตรงกันข้าม ถ้าตัวเลข Nonfarm Payrolls ที่ประกาศออกมาลดลง
แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากำลังซบเซา กรณีนี้มักส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง และตลาดหุ้นภาพรวมปรับตัวแย่ลง ได้เช่นกัน
ในกรณีของทองคำ ที่โดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวตรงข้ามกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและตลาดหุ้น
ถ้าตัวเลข Nonfarm Payrolls ที่ประกาศออกมาเพิ่มขึ้น
ราคาทองคำที่ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ก็มักจะถูกกดดันให้ปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนกล้าที่จะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างเช่นหุ้นมากขึ้น
นอกจากนี้ การที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกากำลังขยายตัว จะทำให้มีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยในอนาคตนั้นปรับตัวสูงขึ้น เช่น อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ก็มีผลให้นักลงทุนย้ายเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ที่จะได้รับดอกเบี้ยมากขึ้นในอนาคต ได้เช่นกัน